slot gacor slot maxwin slot thailand slot demo togel online slot gacor mulia77 slot gacor slot gacor bagan4d bagan4d bagan4d slot88 bandar togel https://sakip.garutkab.go.id/assets/sdemo/ https://sakip.garutkab.go.id/assets/ https://simba.kotawaringinbaratkab.go.id/img/tema/
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ประวัติสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
           

     สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นหน่วยงานตามโครงสร้างซึ่งมีภารกิจหลักด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม และความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาชุมชน และสังคม อีกทั้งต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนงานด้านศิลปวัฒนธรรม

     สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เดิมใช้ชื่อว่า ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่ง ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมเผยแพร่ และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. ๒๕๑๘ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินการตามบทบาท ภาระหน้าที่ มาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๒๗                                            

     ในระยะเริ่มแรกศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ยังไม่มีสถานที่ทำงานเป็น หลักแหล่งได้อาศัยภาควิชาปรัชญาและศาสนา เป็นสถานที่ปฏิบัติการชั่วคราวจนกระทั่งปีการศึกษา ๒๕๒๙ วิทยาลัยฯ ได้งบประมาณมาปรับปรุงอาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรม (อาคารศรีสุริยวงศ์) ซึ่งหลังจากที่ปรับปรุงอาคารเสร็จเป็นที่เรียบร้อย วิทยาลัยฯ กำหนดให้ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมย้ายมาอยู่ที่อาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรม และโอกาสที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้จัดงาน “บ้านสมเด็จ ๓๒” วิทยาลัยฯ ได้ขอพระราชทานฯ ทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๓๒

     จนกระทั่งวิทยาลัยครู ได้เปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏในปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ และปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ ให้ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ที่จะต้องดำเนินงานตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย  ราชภัฏด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นบทบาทและภารกิจที่สำคัญของกรอบแผนพัฒนาอุดมศึกษา ระยะยาว ๑๕ ปี(พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๖๕) ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของชาติในด้านการสร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรมให้ เป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมภูมิปัญญาไทยรวมทั้งตอบสนองพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

     สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีแนวคิดในการส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทั้งในด้านที่เกี่ยวกับคนและภูมิปัญญาธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตไทยโดยส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับ วิธีคิด วิธีรู้สึก วิธีแสดงออกระบบความหมายและคุณค่าอันจะนำไปสู่การเลือกสรรและการตัดสินใจรวมทั้งการสร้างสรรค์งานทางด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสมในภาวะวิกฤตของสังคมไทยในปัจจุบันทั้งนี้โดยบูรณาการกระบวนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้สอดประสานไปกับกิจกรรมการเรียนการสอน และกระบวนการพัฒนาการศึกษา

     สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงเป็นหน่วยงานที่จะช่วยสร้างคุณภาพของบุคลากรให้มีความเข้าใจในบทบาทของวัฒนธรรมแห่งตน ชุมชน และท้องถิ่น เพื่อนำมาปรับให้เข้ากับสภาพของวิถีชีวิตแบบไทยในสังคมปัจจุบันอีกทั้งเพื่อสร้างคุณภาพทางจิตใจให้รู้จักความอ่อนโยน มีสุนทรียะ ประกอบด้วยเหตุผลถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม เกิดความรัก ความภาคภูมิใจและศรัทธาในศิลปวัฒนธรรมซึ่งถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษอันจะเป็นแนวทางสำหรับการนำมาอนุรักษ์และพัฒนาให้คงอยู่ ในสังคมยุคใหม่ได้อย่างราบรื่น

     ปัจจุบันสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย ให้ดูแลแหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีศึกษาห้องพิพิธภัณฑ์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ห้องเกียรติประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาโรงละครศรีสุริยวงศ์และบ้านเอกะนาค เพื่อเป็นการบริการวิชาการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม แก่นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรทั้งภายในและภายนอกตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่มาขอใช้บริการสถานที่แหล่งเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีการบริหารงานในรูปของคณะกรรมการ โดยมีที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิและมีเจ้าหน้าที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน มีสำนักงานตั้งอยู่ชั้นล่างในอาคาร ๑๕๐ ปีมหาบุรุษรัตโนดม (ช่วง บุนนาค)

ทำเนียบผู้บริหาร สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญมี 
แท่นแก้ว (ผู้อำนวยการศูนย์ พ.ศ.๒๕๒๗ – ๒๕๓๒)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อินทิรา
บุณยาทร (ผู้อำนวยการศูนย์ พ.ศ.๒๕๓๒ – ๒๕๓๘)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำไพ
วิทยวิโรจน์ (ผู้อำนวยการศูนย์ พ.ศ.๒๕๓๘ – ๒๕๔๐)
  • อาจารย์ธำนุ
 คงอิ่ม (ผู้อำนวยการศูนย์ พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๑)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์
ชาญเลขา (ผู้อำนวยการศูนย์ พ.ศ.๒๕๔๑ – ๒๕๔๕)
  • อาจารย์พิษณุ
 บางเขียว (ผู้อำนวยการศูนย์ พ.ศ.๒๕๔๕ – ๒๕๔๖)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สงกรานต์
พาน้อย (ผู้อำนวยการศูนย์ พ.ศ.๒๕๔๖ – ๒๕๔๗)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิษณุ
บางเขียว (ผู้อำนวยการสำนัก พ.ศ.๒๕๔๗ – ๒๕๕๖)
  • อาจารย์ ดร.ปัทมา
วัฒนพานิช (ผู้อำนวยการสำนัก พ.ศ.๒๕๕๖ – ๒๕๖๐) 
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์
บัวทอง (ผู้อำนวยการสำนัก พ.ศ.๒๕๖๐ จนถึงปัจจุบัน)